วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนอย่างมีแบบแผนต่อความรู้ ทัศนคติและ
พฤติกรรมในการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 
กลุ่มตัวอย่าง
คือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง จ านวน 20 ราย 
คัดเลือก
กลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 
โปรแกรมการสอนอย่างมีแบบแผนและเครื่องมือที่ใช
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการล้างไต
ทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง ทั้ง 3 ฉบับ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 
ได้ค่า
CVI=1 เท่ากัน ค่าความเที่ยงได้ค่า KR-21=0.70, สัมประสิทธิ์แอลฟา      ของครอนบาค=0.90 และ 0.81 ท า
การเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2563 ถึง มกราคม 2564 ด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามโดยวัดความรู้
ทัศนคติและพฤติกรรมก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired T-test
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 25
สถานภาพสมรส/คู่ ร้อยละ 50 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 65 และมีรายได้ต่อเดือน น้อยกว่า 5,000
บาท ร้อยละ 85 และพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการล้างไตทางช่องท้องอย่าง
ต่อเนื่องด้วยตนเอง ภายหลังได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนมีค่าเฉลี่ย 22.20 (SD 4.58), 41.25 (SD 5.94)
และ 62.85 (SD 9.28) ตามล าดับ คะแนนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีแบนแผนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติท
ระดับ p < 0.001
ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการสอนอย่างมีแบบแผนช่วยให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายม
ความรู้ ทัศนคติที่ดีและเกิดพฤติกรรมการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
 

เอกสาร

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close