บทคัดย่อ
การศึกษาการเกิดภาวะถอนพิษสุราในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแผนกอายุรกรรมชายโรงพยาบาลปราสาท ปี พ.ศ. 2557 นี้เป็นการวิจัยพรรณนาเพื่อศึกษาการเกิดภาวะถอนพิษสุรา ศึกษาลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแผนกอายุรกรรมชาย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้มารับการรักษาที่แผนกอายุรกรรมชายที่มีภาวะถอนพิษสุรา โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เลือกวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงโดยเลือกผู้มารับบริการที่มีอาการถอนพิษสุรา จำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลและ แบบประเมินความรุนแรงอาการถอนพิษสุราด้วยเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม กับผู้ที่มารับบริการในแผนกอายุรกรรมชาย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 ถึง วันที่ 30 เมษายน 2557 ได้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 ราย นำข้อมูลที่ได้มาประมวลเพื่อวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า อาการถอนพิษสุรา ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแล้วมีอาการถอนพิษสุรามีอาการระดับเล็กน้อย ร้อยละ 36 ผลการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ทวี ตั้งเสรี(2541) เมื่อไม่ได้ดื่มหรือลดปริมาณ ของสุราลง ร่างกายจะมีการตอบสนองอย่างมาก จะรู้สึกคลื่นไส้จนถึงมีอาการชัก ผู้ที่ติดสุราต้อง ประสบและอดทนกับอาการในระยะถอนพิษสุราซึ่งทำให้เกิดภาวะไม่สุขสบายจากอาการถอนพิษ (withdrawn) (Tierney, 2006) ระยะถอนพิษสุรา (alcohol detoxification) และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการถอนพิษสุรา เป็นเพศชายร้อยละ 100 และมีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี มากที่สุดผลการศึกษาในครั้งนี้สอคล้องกับสถานการณ์การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปี 2554 พบว่า คนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นนักดื่มในปัจจุบัน(Current drinker) หรือผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน 12 เดือน ที่ผ่านมาจำนวน16,992,017 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.5 ของ ประชากรผู้ใหญ่ ประชากรผู้ใหญ่ชายมี ความชุกการดื่มสูงกว่าประชากรผู้ใหญ่หญิงประมาณ 5 เท่า กลุ่มประชากรที่มีความชุกของนักดื่มสูงที่สุด คือ วัยผู้ใหญ่ (อายุ25-59 ปี) และ พบว่าอายุเฉลี่ยที่เริ่มดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ คือ 20.4 ปี ประชากรชายที่อายุ 15ปี เริ่มดื่มที่อายุเฉลี่ย 19.4 ปี สำหรับประชากรหญิงเริ่มดื่มเฉลี่ยที่อายุ 24.5 ปี อายุเฉลี่ยประชากรที่เริ่มดื่มนั้นไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ล่ะภูมิภาค ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า กลุ่มอายุประชากรที่น้อยกว่ามีแนวโน้มเริ่มดื่ม เร็วกว่ากลุ่มประชากรที่อายุมากกว่า โดยผู้ชายเริ่มดื่มก่อนผู้หญิงในทุกกลุ่มอายุ
จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พยาบาลควรให้ความสำคัญในการดูแลผู้ที่ติดสุรา โดยการประเมินตั้งแต่แรกรับเน้นการซักประวัติเรื่องการดื่ม ความถี่ การหยุดดื่ม เพื่อให้การรักษาที่ช่วยลดระดับการเกิดอาการถอนพิษสุราที่รุนแรงขึ้น