วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2024

การวิจัยและพัฒนา เพื่อศึกษาการด าเนินการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน อ าเภอปราสาท
จังหวัดสุรินทร์ในวงรอบที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มตัวแทนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
และชุมชนระดับหมู่บ้านในพื้นที่อ าเภอปราสาท ที่มีการด าเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน
มาอย่างต่อเนื่องเก็บข้อมูลในช่วง วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 มิถุนายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ คือ
แบบบันทึกข้อมูลจาการสังเกต แบบสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่ม ตรวจสอบความถูกต้องของข้อ
ค้นพบ และตีความสรุปประเด็นด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนในชุมชนของงานป้องกันอุบัติเหตุทาง
ถนน มีดังนี้ 1) ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เช่น เจ้าของปัญหา เจ้าของผลกระทบที่เกิดขึ้นของคนใน
ชุมชน เป็นต้น 2) ทุกครรลองต้องท าเอง โดยคนชุมชนวางแผนแก้ไขปัญหาเอง ลงมือท าและทบทวน
ผลหลังท างานเอง หากต้องน าเสนอต่อที่สาธารณอื่นๆ เขาต้องการพูดน าเสนอด้วยตนเอง 3) รัฐไม่
ปล่อยให้เคว้งถ้าชุมชนต้องการความช่วยเหลือ ชุมชนต้องการเพียงการสนับสนุนเกี่ยวกับหลัก
กฎหมายหรือการท าหนังสือราชการอย่างถูกต้อง มารองรับกระบวนการด าเนินงานของเขาเท่านั้น 4)
กิจกรรมเอื้อด้วยทุนในพื้นที่ มีให้หยิบยกมาชื่นชมและต่อยอดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทุนความร่วมมือ
แบบบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ก็สามารถบูรณาการใช้ในการด าเนินงานนี้ได้เช่นกัน 5) มีนวัตกรรม
ของชุมชนที่หลากหลาย ที่น่าสนใจเช่น ด่านชุมชน-ด่านคุ้ม-ด่านครอบครัว, ทีมเคลื่อนที่เร็วประจ า
คุ้ม, 3ด่าน-3วัย, ด่านขาโจ๋กลับใจ, ด่านเมียเอาอยู่, สมุนไพรสร่างเมา, ด่านท้าประลองคนเมา,
หมู่บ้านศีลห้า, ล้อมรั้วล้อมรัก, กิจกรรมนักเรียนท าดีร่วมกับชุมชน, หมู่บ้านพระคุ้มครอง เป็นต้น
บริบทและสถานการณ์ที่ปรากฏขึ้นในการพัฒนาวงรอบนี้ แสดงถึงผลลัพธ์ของการ
ปรับเปลี่ยนจิตส านึกของประชาชน จนกลายเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน หยั่งรากลงลึกถึง
ระดับครัวเรือนและปัจเจกบุคคลในพื้นที่ชุมชน เป็นคุณค่าที่สามารถน าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยาย
ผลต่อ ในพื้นที่อื่นๆได้

เอกสาร
 

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close