วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2024

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ ผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และ
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ระยะที่1 เพื่อศึกษาการรับรู้อาการ การดูแล
และการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในชุมชน หลังร่วมกิจกรรมการ
ประชาสัมพันธ์ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อน าสู่การพัฒนาจัดท าข้อเสนอแนะเชิง
นโยบายในการส่งเสริมการรับรู้อาการ การดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองใน
ชุมชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชน ผู้น าชุมชนและกู้ชีพต าบลในเขตอ าเภอปราสาท จังหวัด
สุรินทร์ ที่เข้าร่วมในกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ จ านวน 185 ราย  ระยะที่ 2 เพื่อติดตามและ
ประเมินผลการรับรู้อาการ การดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน อ าเภอ
ปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือน
ตุลาคม2559-กันยายน2560
ผลการวิจัยระยะที่ 1 การรับรู้อาการ การดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
สมองในชุมชน อ าเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 
จ านวน 117 ราย ร้อยละ 63.2  อายุอยู่ในช่วง 36 – 45 ปี กลุ่มตัวอย่างจ านวน 109 ราย ไม่มี
ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว ร้อยละ 58.9  กลุ่มตัวอย่างตอบว่า
ทราบในอาการเตือนส าคัญ คือ ปากเบี้ยว/ใบหน้าอ่อนแรง มากที่สุด ถึง 147 ราย ร้อยละ 
79.5 สิ่งที่ควรรีบท าอันดับแรกสุด คือ พาไปโรงพยาบาลทันที จ านวน 170 ราย ร้อยละ 95.1
กลุ่มตัวอย่างตอบการพาไปโรงพยาบาลภายในระยะเวลาหลังจากมีอาการที่จะช่วยให้บุคคลนั้น
มีโอกาสสูงมากที่จะหายเป็นปกติ และสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ เลือกตอบมากที่สุด 
คือ ระยะเวลา 3 ชั่วโมงถึง 153 ราย ร้อยละ 82.7 การเลือกเรียกใช้บริการ 1669 เกือบทั้งหมด 
จ านวน 171 ราย ร้อยละ 92.4  ข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการส่งเสริมการรับรู้อาการ การดูแล
และการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน อ าเภอปราสาท เป็นข้อมูลพื้นฐานที่
สอดคล้องกับปัญหาที่แท้จริงของผู้รับบริการได้ สามารถน าไปประยุกต์ใช้ในงานบริการ
การแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
ที่ต้องการให้สถานบริการสุขภาพพัฒนาคุณภาพบริการให้เพิ่มการรับรู้และเข้าถึงบริการอย่าง
ทั่วถึงในกลุ่มโรคที่เป็นปัญหาส าคัญตามบริบทพื้นที่ ระยะที่ 2 พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอด
เลือดสมองจ านวน  93 ราย ได้รับการสื่อสารผ่านศูนย์รับแจ้งเหตุ 1669 จ านวน 62 ราย คิด
เป็นร้อยละ 66.66 ซึ่งผู้ป่วยทุกรายได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากญาติผู้ประสบเหตุใน
ชุมชนและกู้ชีพต าบล ส่งต่ออย่างถูกต้องให้ทีม Advance EMS ก่อนถึงโรงพยาบาลสอดคล้อง
ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

เอกสาร

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close