วันพุธที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2024

บทคัดย่อ

 

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง(Experimental Research) มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิผลการสอนที่มีต่อความรู้และทักษะของอาสาสมัคร กู้ชีพตำบลในอำเภอปราสาท ในการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของหน่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้กระบวนการวางแผนการจัดการเรียนการสอนการให้ความรู้และการฝึกทักษะแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับแนวคิดการวิจัยเชิงทดลอง โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครกู้ชีพของหน่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐานระดับตำบลในอำเภอปราสาท  จำนวน   40  คน ตามทฤษฎีขีดจำกัดกลาง (Bartz,1999)   โดยการสุ่มอย่างง่าย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบความรู้ ทักษะ ก่อนและหลังการเรียนซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป  แบบทดสอบด้านความรู้และแบบทดสอบด้านทักษะ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการอบรมกลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดลองได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ Paired samples t-test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้นก่อนการเรียนซึ่งคะแนนเฉลี่ยของความรู้ก่อนการเรียนเท่ากับ 23.32 และหลังการเรียนเท่ากับ 24.55  เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติพบว่า คะแนนความรู้หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และด้านทักษะการปฏิบัติการของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างมีทักษะโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะก่อนการเรียนเท่ากับ 11.95 และหลังการเรียนเท่ากับ 14.50 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติพบว่า คะแนนทักษะหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้รับการพัฒนาทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ เป็นผลทำให้มีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องมากขึ้น จากผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าประสิทธิผลการสอนที่มีต่อความรู้และทักษะของกู้ชีพตำบลในอำเภอปราสาทโดยประยุกต์ใช้กระบวนการการจัดการเรียนการสอนการฝึกทักษะแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับแนวคิดการวิจัยเชิงทดลองทำให้อาสาสมัครกู้ชีพในระดับตำบล ของหน่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐานในอำเภอปราสาท เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทักษะการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงควรส่งเสริม สนับสนุนให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนและทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานนี้ไประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกู้ชีพในหน่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐานอื่นๆเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ  มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close