วันพุธที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2024

การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้นครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับสารเคมีตกค้างในเลือดหลังการใช้ชาชงรางจืด กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปรือที่มีผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยคำถามปลายปิด และเปิดจำนวน 7 ข้อ ส่วนที่ 2 ผลการตรวจระดับสารเคมีตกค้างในเลือด โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ปกติ ปลอดภัย มีความเสี่ยง ไม่ปลอดภัย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบบันทึกข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 – 30 มกราคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test ผลการวิจัยมีดังนี้

ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีระดับสารเคมีตกค้างในเลือด ในระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 100 หลังการทดลองครั้งที่ 1 ระดับสารเคมีตกค้างในเลือด อยู่ในระดับปลอดภัย ร้อยละ 3.7 มีความเสี่ยง ร้อยละ 51.9 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 44.4  หลังการทดลองครั้งที่ 2 ระดับสารเคมีตกค้างในเลือด อยู่ในระดับปลอดภัย ร้อยละ 44.4 มีความเสี่ยง ร้อยละ 3.7 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 18.5 เมื่อทำการเปรียบเทียบระดับสารเคมีตกค้างในเลือดพบว่า ก่อนการทดลองและหลังการทดลองครั้งที่ 1 มีความแตกต่างกัน ส่วนหลังการทดลองครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ไม่มีความแตกต่างกัน

หน่วยงานสาธารณสุขและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีการจัดตั้งคลินิกหรือชมรมเกษตรกร เป็นการคัดกรองเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่มีสารเคมีตกค้างในร่างกายในระดับที่ไม่ปลอดภัย  จัดอบรมให้ความรู้ เพื่อให้เกษตรกรรู้จักวิธีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม และจ่ายชาชงรางจืดให้รับประทาน ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกรางจืดไว้ใช้ในครัวเรือน เนื่องจากรางจืดไม่ได้มีสรรพคุณเฉพาะการลดพิษสารเคมีในร่างกายเท่านั้น  ยังมีสรรพคุณในการแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เพื่อเป็นการอนุรักษ์สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ประชาชนรู้จักการพึ่งพาตนเอง และรู้จักการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close