วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2024

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเครียดในญาติที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลปราสาท กลุ่มตัวอย่าง  คือ  ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช  ทั้งที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิต โรงพยาบาลปราสาท  และจากการติดตามเยี่ยมที่บ้าน โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 84 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบสอบถาม  ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2   เป็นแบบสอบถามความรู้  ส่วนที่ 3 เป็นแบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช และส่วนที่ 4  เป็นแบบคัดกรองภาวะเครียดของ กรมสุขภาพจิต  ( ST 5)   ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น        เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง   ระหว่างวันที่    25  สิงหาคม – 25  พฤศจิกายน    2555    วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ โดยใช้ Chi – Square test

           ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะเครียดอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 42.9,ภาวะเครียดระดับปานกลาง ร้อยละ  32.10 ,  กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะเครียดในระดับสูง ร้อยละ 13.1  และพบกลุ่มตัวอย่างมีภาวะเครียดในระดับสูงสุด ร้อยละ 11.9   พบว่าในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชาย  ,กลุ่มที่มีรายได้ต่ำ , ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 50  ปี รวมถึงผู้ที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาลงมา , ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นระยะเวลามากกว่า 5 ปี  , ผู้ที่มีความรู้ในระดับปานกลางลงมาและผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยจะมีภาวะเครียดระดับสูง  เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่า  เพศ  ระดับความรู้และทัศนคติต่อผู้ป่วยจิตเวช มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเครียดในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ             

           จากผลการวิจัย           ควรมีการประเมินความเครียดและประเมินทัศนคติในญาติที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นระยะ  เพื่อค้นหาและช่วยเหลือญาติผู้ป่วยที่มีความเครียดสูงและควรมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ในกลุ่มญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยในรายใหม่ รวมทั้งควรมีโครงการจัดกิจกรรมเพื่อการผ่อนคลายให้แก่ญาติที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นระยะโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ดูแลที่มีรายได้น้อย , ผู้ที่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง , ผู้ดูแลที่เป็นญาติใกล้ชิดที่เป็นบิดา  มารดาหรือบุตรและผู้ที่มีระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยนานโดยเฉพาะตั้งแต่  15 ปีขึ้น ควรสนับสนุนงานบริการเยี่ยมบ้านและครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องทั้งนี้เพื่อเน้นบริการเชิงรุกและดูแลญาติผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตที่บ้านร่วมด้วย

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close