วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2024

การวิจัยเรื่อง     ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ต่อการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลปราสาท  อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติการบริหาร

จำแนกตามตัวแปรต่างๆ  กลุ่มตัวอย่างคือ  เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปราสาท  โดยการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน  152  คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบสอบถาม  ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล  3   ส่วน  คือ ข้อมูลทั่วไป   แบบวัดความรู้  และ แบบวัดทัศนคติ   ซึ่งผ่านการตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.70 และ 0.82 ตามลำดับ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามระหว่างวันที่ 28-31 มกราคม  2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติวิเคราะห์ได้แก่  t-test  และ F-test (ANOVA)

          ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงในระดับสูง(คะแนน 9-12) ร้อยละ79.6 ,  และมีทัศนคติการบริหารความเสี่ยงระดับสูง(52-65 คะแนน) ร้อยละ 66.4 เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติของเจ้าหน้าที่ต่อการบริหารความเสี่ยง จำแนกตามตัวแปร  เพศ  อายุ  การศึกษา  ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน   ระดับ  หน่วยงาน   การอบรม  และระดับความรู้   พบว่าทัศนคติมีความแตกต่างกันในหน่วยงานที่ต่างกัน  และ มีความแตกต่างกันในกลุ่มระดับความรู้ต่างกัน   ส่วนตัวแปรอื่นๆพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในด้านทัศนคติ

          จากข้อค้นพบดังกล่าว  สามารถนำไปดำเนินการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับมีความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงอย่างทั่วถึงและทำอย่างจริงจังรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่  นอกจากนั้นต้องนำกระบวน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) มาใช้โดยเฉพาะการเสาะแสวงหาสิ่งที่ดีๆ (Appreciative Inquiry :AI)ของบุคลากรหรือของหน่วยงานในเรื่องการบริหารความเสี่ยงหรือ Best Practice เพื่อสร้างพลังทั่งทั้งองค์กรในการบริหารามความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   รวมถึงต้องมีกิจกรรมยกย่องผู้ที่รายงานความเสี่ยงเข้ามา    ตลอดจนคัดสรรหน่วยงานหรือบุคคลต้นแบบในเรื่องการบริหารความเสี่ยงต่อไป

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close