วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2024

ปัจจุบันในภาวะที่ทั้งโลกต้องเผชิญกับภาวะโรคระบาดจาก Virus Covid-19 ท าให้บุคลากรทางการแพทย์มี
ภาระที่ต้องรักษาผู้ป่วยมากขึ้น ในบางครั้งการเดินทางไปที่โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาไม่ว่าจะเป็นการรักษาโรคทั่ว
โป หรือโรคที่ต้องการใช้การรักษาจากแพทย์เฉพาะทางอาจเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลในปัจจุบันท าให้ข้อจ ากัดในการเดินทางลดลง ระบบการแพทย์ก็เช่นกัน โรงพยาบาลสามารถ
ลงทุนในด้านระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพื่อจัดการให้บริการทางด้านสาธารณสุขแก่
ผู้รับบริการได้รับการรักษาต่อเนื่อง ระบบนี้เป็นระบบที่มีประสิทธิผลคุ้มต่อการลงทุน เนื่องจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการ
รักษาพยาบาลที่ และเพิ่มประสิทธิผลในการรักษา เพิ่มประโยชน์ส าหรับคนไข้ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็ม
ประสิทธิภาพ จากการศึกษาผลลัพธ์การเยี่ยมบ้านผ่านระบบแพทย์ทางไกลในการดูแลผู้ป่วย แบบประคับประคองใน
สถานการณการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่าการบรรเทาอาการไม่สุขสบายของผู้ป่วย ท าให้ผู้ป่วยที่มี
ความปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง มีระดับคะแนนลดลง ≥ ร้อยละ 50 ภายใน 24-48 ชั่วโมง จ านวน 31ราย (ร้อยละ
91.17) และผู้ป่วยที่มีเฉพาะอาการหายใจล าบากระดับปานกลางถึงรุนแรง มีระดับคะแนนลดลง ≥ ร้อยละ 50 ภายใน
24-48 ชั่วโมง จ านวน 29 ราย (ร้อยละ 96.67) ส่วนผลลัพธ์ด้านการกลับมารักษาซ้ าในโรงพยาบาล พบว่าลดการ
กลับมารักษาซ้ าได้ จ านวน 50 ราย (ร้อยละ 68.49) การเยี่ยมบ้านผ่านระบบแพทย์ทางไกลในสถานการณ์การระบาด
จาก Virus Covid-19 เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง จึงควรน าระบบดังกล่าวไปใช้ต่อไป
เพื่อลดปวด ลดอาการหายใจล าบากและลดการกลับมารักษาซ้ าในโรงพยาบาล (แพงพรรณ ศรีบุญลือ, 2565)
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) หมายถึง แนวทางปฏิบัติในการดูแลแบบประคับ
ประคองที่มุ่งให้ผู้ป่วยมีความสุขสบาย บรรเทาความเจ็บปวด โดยให้ความส าคัญต่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่
พยายามเร่งรัดหรือเหนี่ยวรั้งการตาย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติเมื่อเผชิญกับ

ปัญหา อันเกี่ยวเนื่องกับความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต โดยผ่านกระบวนการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมาน
จากอาการเจ็บป่วยให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (WHO, 2012) รวมทั้งติดตามเยี่ยมบ้าน
ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นการรักษาจนถึงหลังผู้ป่วยเสียชีวิต
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า สภาพการป่วยไข้ เป็นระยะลุกลาม เรื้อรัง หรือ
เข้าสู่ระยะท้ายๆ ของโรค ซึ่งไม่มีวันรักษาให้หายได้ และใกล้เสียชีวิต ผู้ป่วยจ านวนมากมีความต้องการที่จะกลับไปใช้
ชีวิตในช่วงสุดท้ายที่บ้าน ตามการวางแผนรักษาล่วงหน้า (Advance Care Planning) และความประสงค์จะรับบริการ
สาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิตของผู้ป่วย (Living Will) เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมี
ความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงสุดท้าย มีความสุขสบายลดความทุกข์ทรมานทางกาย จิตใจและจิตวิญญาณ
สามารถจากไปอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (พระราชบัญญัติสุขภาพ แหงชาติ, 2550)
ในโรงพยาบาลปราสาทมีการจัดตั้งคลินิกอารีรักษ์เพื่อดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง มีจ านวนผู้ป่วยที่เข้าถึง
การดูแลแบบประคับประคองมากขึ้นทุกปี โดยมีโรคมะเร็ง โรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ไม่ล้างไต หรือยุติการบ าบัด
ทดแทนไต กลุ่มโรคระบบประสาทและสมอง โรคสมองเสื่อม ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โรคหัวใจ เอดส์ระยะท้าย โรคตับ
แข็งระยะสุดท้าย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะท้าย หรือโรคปอดที่ต้องใช้ออกซิเจนตลอดเวลา ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง
รักษาให้หายขาดไม่ได้ หรือมีภาวะทุพลภาพ โรคในเด็ก และโรคอยู่ในระยะไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือโรคลุกลาม
มีโอกาสเสียชีวิตสูง ตามข้อมูลในปี 2562-2565 มีจ านวน 240 251 299 308 ตามล าดับ ได้รับกการวางแผนรักษา
ล่วงหน้า (Advance Care Planning) ประสงค์ที่จะดูแลในวาระสุดท้ายที่บ้าน ตามข้อมูลในปี 2562-2565 มีจ านวน
198 190 227 275 ตามล าดับ และที่มีความประสงค์กลับไปดูแลต่อที่บ้านในระยะสุดท้ายของชีวิตมีการให้ยาใต้
ผิวหนังเพื่อจัดการอาการรบกวน ลดความทุกข์ทรมานทางร่างกาย เช่น อาการปวด อาการหอบ อาการสับสน อาการ
กระสับกระส่าย เสมหะในล าคอ เป็นต้น ตามข้อมูลในปี 2562-2565 มีจ านวน 188 136 201 163 ตามล าดับ คลินิก
อารีรักษ์มีข้อจ ากัดเรื่องบุคคลาการ การสื่อสาร และยานพาหนะในการลงติดตามเยี่ยมหลังผู้ป่วยกลับบ้าน ในบางราย
ที่ไม่ได้เยี่ยมบ้านพบว่าญาติมีความวิตกกังวลในการดูแลผู้ป่วย เนื่องจากไม่มั่นใจว่าตนเองจะสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดี
เท่าที่โรงพยาบาล อีกทั้งหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินจะไม่สามารถควบคุมได้ทันเพราะห่างไกลแพทย์ จึงมีการ
พัฒนาการติดตามเยี่ยมแบบ Telemedicine ในป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายที่ได้รับยาใต้ผิวหนังกลับบ้าน
 

เอกสาร

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close