ปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวล้ าทันสมัยมาพร้อมการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ ท าให้ประชากรมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น
ร่วมกับประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ ส่งผลท าให้มีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ.2560 ประเทศไทย มี
ผู้ป่วยติดบ้าน 235,301 ราย ผู้ป่วยติดเตียง 136,677 ราย และคาดการณ์อนาคตว่าในปี พ.ศ.2580 จะมีผู้ป่วยติดบ้านและติด
เตียงเพิ่มเป็น 526,228 ราย และ 311,256 ราย ตามล าดับ
ในเขตพื้นที่อ าเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีข้อมูลผู้ป่วยติดบ้านและติดเตียงในปี พ.ศ.2563 จ านวน 291 ราย, ปี
พ.ศ.2564 จ านวน 274 และปี พ.ศ.2565 (ตค.-มีค.) จ านวน 168 ราย จากข้อมูลการเยี่ยมบ้านกลุ่มงานการพยาบาลชุมชน
ในปี 2564 พบว่าต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์ จ านวน 110 ครั้ง อุปกรณ์ที่ต้องใช้มากที่สุด ดังนี้ 1. เตียง, 2.ฟูกลม 3.เครื่องผลิต
ออกซิเจน, และ 4.เครื่องดูดเสมหะ ตามล าดับ โดยมีสถิติต้องการยืมอุปกรณ์การแพทย์แล้วไม่มีให้ เฉลี่ย 8–9 ครั้ง/ปี การยืม
อุปกรณ์การแพทย์ที่โรงพยาบาลพบปัญหาหลายอย่าง เช่น ติดปัญหาระเบียบพัสดุ –ครุภัณฑ์ ไม่สามารถยืมอุปกรณ์ทางการ
แพทย์ออกนอกโรงพยาบาลได้ จัดซื้อตามระบบราชการไม่ทันความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้น และ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ ท าเกิด
ความล่าช้าหรือยุ่งยากในการเข้าถึงอุปกรณ์การแพทย์ ท าให้บางครอบครัวที่มี ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีเกิดภาวะเครียดกับ
ค่าใช้จ่ายที่อาจต้องไปหาซื้ออุปกรณ์การแพทย์เอง
จากปัญหาดังกล่าวกลุ่มงานการพยาบาลชุมชน จึงน าแนวคิดการท างานกับประชาชน (work with people)
คือ ร่วมคิด ร่วมปรึกษา และร่วมกันท างาน ไม่ใช่ท าให้ประชาชน แต่ฝ่ายเดียว (Work for people) (จิตจ านงค์ กิติกีรติ,
2525 : 54) มาใช้ด าเนินการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์บริการเครื่องมือแพทย์อ าเภอปราสาท วัดสีโควนาราม ที่ตั้ง ณ วัดสีโควนา
ราม ต าบลกังแอน อ าเภอปราสาท ให้บริการเครื่องมือแพทย์ส าหรับผู้ป่วยที่บ้าน มีการหมุนเวียนอุปกรณ์การแพทย์ มาใช้ให้
คุ้มค่า