การวิจัยเรื่อง การรับรู้และการเรียกใช้ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วย Urgent และ Emergent ในเขตอำเภอ ปราสาทมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเรียกใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของผู้ป่วยกลุ่ม Emergent และUrgent ในเขตอำเภอปราสาท กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลปราสาทโดยสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 371 คน จากเวชระเบียนข้อมูลการรักษา ในระหว่างวันที่ 1 - 21 ธันวาคม 2550 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการรับบริการ
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 77.6, มีสิทธิการรักษาบัตรประกันสุขภาพ ร้อยละ92.5, โดยเฉลี่ยเป็นผู้ป่วย Urgent ร้อยละ 93.5, และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มารับบริการเองสูงถึง ร้อยละ 81.1, ลักษณะการเจ็บป่วยที่เรียกใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ ผู้ป่วยฉุกเฉิน ร้อยละ 92.2, ผู้รับบริการในโรงพยาบาลปราสาท มีผู้ป่วยประเภท Emergent คิดเป็นร้อยละ 6.5, การเรียกใช้ในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินทางหมายเลขโทรศัพท์ศูนย์นเรนทร1669 คิดเป็น ร้อยละ14.8, และการเรียกผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์ของโรงพยาบาล คิดเป็น ร้อยละ 1.9, โดยซึ่งสรุปได้ว่า ประชากรในเขตพื้นที่ อำเภอปราสาท มีการรับรู้และเรียกใช้บริการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินน้อย
จากข้อค้นพบดังกล่าว สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาในหน่วยงานสาธารณสุข ของการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในทุกระดับ หากมีการประชาสัมพันธ์ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบเชิงรุก และเผยแพร่ช่องทางในการเรียกใช้ เช่น โทรศัพท์ หมายเลข 1669 วิทยุสื่อสาร และอาสาสมัครแจ้งเหตุ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ประชากรเห็นความสำคัญของการรับรู้และการเรียกใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งในกรณีได้รับบาดเจ็บจากอุบติเหตุ และเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพื่อลดอัตราการบาดเจ็บเพิ่มและการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ (Preventable dead) เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของ ประชากรในเขตพื้นที่ รวมไปถึงจัดตั้งหน่วยกู้ชีพระดับพื้นฐานเพิ่มเติมในจุดพื้นที่ ที่ไม่มีจัดตั้งหน่วยกู้ชีพระดับพื้นฐาน เพื่อการใช้บริการที่ครอบคลุม และพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินต่อไป