วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2024

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคสุราของผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยการสุ่มแบบเจาะจงของผู้ป่วยและญาติที่รับไว้รักษาด้วยกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับการบริโภคสุรา จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วนคือ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับเจตคติ และข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมรวมถึงการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟ่าของครอนบาค  เกี่ยวกับความรู้ มีค่าเท่ากับ 0.82  เกี่ยวกับเจตคติ  มีค่าเท่ากับ 0.90  ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมรวมถึงการสนับสนุนทางสังคม มีค่าเท่ากับ 0.65 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่าง ระหว่างวันที่ 4 มกราคม 2551- 30 มกราคม 2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

           จากการศึกษาพบที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นชาย  อายุระหว่าง 41- 60ปี พบร้อยละ 40.0,  มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 50.0,  ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 75  มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 75.0 สถานภาพสมรส  สมรสแล้ว    ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 50.0   สิทธิการรักษาเป็นบัตรทองส่วนใหญ่มากถึงร้อยละ90.0 การดื่มสุราเป็นตัวอย่างไม่ดีแก่สมาชิกในครอบครัว  และ  การดื่มแอลกอฮอล์ประจำ จะเพิ่มค่าใช้จ่ายของครอบครัว ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้เป็นรายจ่ายแบบสูญเปล่าโดยไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย ร้อยละ 100.0    และด้านวัฒนธรรมรวมทั้งการสนับสนุนทางสังคม พบว่าสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันร้อยละ90.0 พบว่ามีวัฒนธรรมและการสนับสนุนทางสังคม  ในหมู่บ้านเมื่อมีงานเลี้ยงงานบุญต่างๆ มักจะมีการเลี้ยงสุราเสมอ ร้อยละ 95.0 และดูแลเมื่อเจ็บป่วยและสามารถไปใช้บริการในสถานบำบัด  รักษา  ลด  ละ  เลิกสุราได้  คิดเป็นร้อยละ  75.0    

           จากการค้นพบดังกล่าว  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำปัจจัยเหล่านี้ไปเป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาการบริโภคสุราของผู้ป่วยต่อไป

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close