วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2024

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายในคลินิกไตเสื่อม โรงพยาบาลปราสาท อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย จำนวน 36 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปและแบบวัดพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการบริโภคอาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างระหว่าง มีนาคม – เมษายน 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

     กลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี ร้อยละ 72.52  การศึกษาอยู่ในระดับประถมร้อยละ 86.1 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 ต่อเดือน ร้อยละ 50 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 44.4 ระยะเวลาการป่วยเป็นโรคไตวายน้อยกว่า 4 ปีร้อยละ 55.6 ส่วนใหญ่มีภาวะโรคร่วมเป็นเบาหวาน ร้อยละ 86.1การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไตวาย ร้อยละ 61.1 ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลจากสื่อทางโทรทัศน์ พฤติกรรมการบริโภคที่ดีมี 3 ลำดับแรกคือ กินอาหารนอกบ้านหรือซื้อกลับมากินที่บ้านร้อยละ 19.4   การบริโภคอาหารที่มักเติมเครื่องปรุงรสที่มีรสเค็ม เช่น เกลือ น้ำปลา ซอส ซีอิ้วและการรับประทานอาหารกึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 36.1 และการบริโภคอาหารกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากเนื้อและปลาเค็ม เช่น แหนม ไส้กรอก แฮม ปลาเค็ม รวมถึงอาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ร้อยละ 38.9 ส่วนทางด้านพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดีมี 3 ลำดับแรก คือการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มนำ ร้อยละ 83.3 บริโภคอาหารตามร้าน เช่นก๋วยเตี๋ยว อาหารจานเดียว ข้าวราดแกงมักเติมเครื่องปรุงรสเค็มเพิ่ม ร้อยละ 66.7 และการบริโภคอาหารที่มีน้ำจิ้ม เช่น ลูกชิ้น ข้าวมันไก่ สุกี้ หมูกระทะ ร้อยละ 52.8  ตามลำดับ

          จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ควรมีการส่งเสริมสุขภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตวายโดยเฉพาะในด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารหรือสุขศึกษาในด้านการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อลดการเกิดโรคแทรกซ้อน

ลงชื่อเข้าใช้งาน

Error message here!

Hide Error message here!

Lost your password? Please enter your email address. You will receive a link to create a new password.

Error message here!

Close